สธ.ปรามติดโควิดพักรพ.สนาม “งดรวมกลุ่ม-ล้อมวงกินข้าว-เล่นไพ่”

โชเชียลวิจารณ์ ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในโรงพยาบาลสนามรวมกลุ่มล้อมวงกินข้าว บางคนเล่นไพ่ ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข ปรามไม่ควรรวมกลุ่มคลุกคลีทำกิจกรรมใกล้ชิดกัน เพราะเชื้อฟุ้งกระจาย เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น

กรณีโซเชียลวิจารณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 โรงพยาบาลสนามผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Red Skull In Love พบว่าบางส่วนกำลังกำนั่งล้อมวงกินอาหาร และเล่นไพ่กัน และมีการถ่ายคลิปลงในแอปพลิเคชัน TikTok จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม

ทั้งนี้ เพจ Red Skull In Love ระบุวา น่าไล่กลับไปให้นอนรอการรักษาอยู่ที่บ้านนะ โรงพยาบาลสนาม เค้าให้ผู้ติดเชื้อไปพักรักษาตัว รักษาระยะห่าง แต่ยังมีคนไปรวมกลุ่มตั้งวงไพ่ในนั้นต่ออีก คนป่วยอีกหลายคนยังไม่มีเตียง แต่พวกนี้ มาจากเลานจ์แหล่งแพร่ระบาดหลักๆ เลย กลับมองเป็นเรื่องสนุก” 

วันนี้ (16 เม.ย.2564) นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวถึงผู้ที่อยู่ในโรงพยาบาลสนามมีพฤติกรรมจับกลุ่มทำกิจกรรมใกล้ชิด ไม่สวมหน้ากากอนามัย ควรจะมีข้อปฏิบัติอย่างไร รวมกลุ่มได้หรือไม่ว่า เนื่องจากคนที่เข้าโรงพยาบาลสนาม เป็นการรวมคนที่ถูกวินิจัยฉัยว่าเป็นผู้ติดเชื้อแล้ว แม้ว่าคนจำนวนหนึ่งจะเข้าไปโดยไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงที่จะคลุกคลีเพื่อลดการฟุ้งกระจายของเชื้อ COVID-19 

หากคลุกคลีมากเกินไปในระดับของปริมาณเชื้อต่างๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายเพิ่มขึ้น จึงถือเป็นกิจกรรมที่ไม่สมควร และควรรักษาระยะห่างร่วมกับสวมใส่หน้ากากอนามัย

ภาพ : เพจควาย+Social Airlines

ภาพ : เพจควาย+Social Airlines

 

ส่วนข้อกังวลว่าถ้าอยู่ในโรงพยาบาลสนาม จะแลกเปลี่ยนเชื้อและโอกาสป่วยได้หรือไม่ นพ.เฉวตสรรกล่าวว่า การที่ต้องเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลสนาม เป็นการแยกคนที่ติดเชื้อเข้ามาสู่ระบบการดูแล จึงต้องพยายามให้มีระยะห่าง เพื่อลดการติดเชื้อ

ธรรมชาติของโรค COVID-19 ต้องดูวันต่อวันในโรงพยาบาลสนาม จะมีการดูแลติดตามเปลี่ยนแปลง เช่น เดิมไม่เคยไอ และมีอาการไอ ก็ต้องย้ายออกไปที่โรงพยาบาล แต่ขอให้เชื่อมั่นในระบบการดูแล ของโรงพยาบาลสนาม

ภาพ : เพจควาย+Social Airlines

ภาพ : เพจควาย+Social Airlines

กักตัวครบ 14 วันแล้วตรวจหาเชื้ออีกหรือไม่?

ส่วนกรณีการกักตัวครบ 14 วันและตรวจหาเชื้อแล้วยังต้องตรวจหาเชื้ออีกหรือไม่ นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ไม่ต้องตรวจ เพราะผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จะมีการแยกเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ และตรวจเมื่อเจอแล้ว 1 ครั้ง และหากไม่มีเชื้อวันก่อนหน้านั้น ก็จะไม่แพร่หาคนอื่น นอกจากนี้หลังจากนั้น 7 วันที่เข้ากักตัวก็ต้องตรวจซ้ำ และถ้ายังเป็นผลลบ ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ แต่หากวันสุดท้ายขอการกักตัวถ้ามีอาการทางระบบทางเดินหายใจก็ต้องบอกกับแพทย์

สถานการณ์ยังเป็นตัวเลขขาขึ้นอยู่ แต่ขาขึ้นจะไปชะลอเมื่อไหร่ เรามีมาตรการที่ชัดเจนก่อนสงกรานต์ต้องดู 1-2 สัปดาห์ อาจจะเห็นการคงตัวของยอดผู้ป่วยและเริ่มลดลง แต่เป็นทางทฤษฎี เพราะในความเป็นจริงอาจจะมีปัจจัยอื่นๆทำให้การคาดการณ์แตกต่างไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดลามทั่วไทย! ป่วยเพิ่ม 1,582 คน ติดเชื้อครบ 77 จังหวัด

 

Next Post

หนุนรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคอย่างต่อเนื่อง

ศุกร์ เม.ย. 16 , 2021
หลายหน่วยงานทยอยออกประกาศให้พนักงานทำงานที่บ้าน ลดการเดินทาง หน่วยงานรัฐออกประกาศก่อนเลย ตามมาด้วยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เมื่อประกาศเเบบนี้ เเม่ค้าตามตลาดนัดหลังกระทรวง กุมขมับเเล้ว รายได้หายไปเเน่ๆ เลยอยากจะให้รัฐออกมาตรการกระตุ้นการบริโภค