ศาลฯสั่งชดใช้คดีจำนำข้าวจีทูจีกว่า 1.6 หมื่นล้าน

ศาลปกครองกลางสั่งให้นายมนัส สร้อยพลอย, ภูมิ สาระพล บุญทรง เตริยาภิรมย์ และพวก ชดใช้ค่าเสียหายคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ รวมกว่า 1.6 หมื่นล้าน

วันนี้ (29 มี.ค.2564) ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีที่นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ผู้ฟ้องคนที่ 1 , นายทิฆัมพร นาทวรทัต ผู้ฟ้องคดีที่ 2, นายอัฐฐิติพงศ์ หรือ อัครพงศ์ ทีปวัชระ หรือช่วยเกลี้ยง ผู้ฟ้องคดีที่ 3 , นายภูมิ สาระผล ผู้ฟ้องคดีที่ 4 , และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ผู้ฟ้องคดีที่ 5 ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2, ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ กระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 โดยในคำฟ้องของนายมนัสกับพวกอ้างว่าได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหายจากคำสั่งกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ 19 กันยายน 2559 ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กับพวก ที่สั่งให้ชดใช้ความเสียหายจากการทุจริตการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐในโครงการรับจำนำข้าว

ทั้งนี้ ในคำสั่งกระทรวงพาณิชย์เรียกค่าเสียหายจากนายนายมนัส นายทิฆัมพร และนายอัฐฐิติพงศ์ หรืออัครพงศ์ ทีปวัชระ โดยให้ทั้ง 3 คน ชดใช้ค่าเสียหายคนละ 4,011,544,725.33 บาท ส่วนนายภูมิ ให้ชดใช้ความเสียหาย 2,242,571,739.67 บาท ขณะที่นายบุญทรง ชดใช้ค่าเสียหาย 1,768,973,012.66 บาท โดยคิดคำนวณจากสัญญาซื้อขายข้าว 4 ฉบับ ที่มีการขายข้าวในราคาต่ำท้องตลาด และค่าส่วนต่างจากการส่งมอบข้าวและการชำระเงิน (เบิกข้าวออกมากว่ากว่าจ่ายเงินจริง)

ทั้งนี้ ในคำพิพากษาของศาลปกครองกลางระบุว่าทั้ง 5 คนจงใจกระทำการทุจริต ร่วมกับข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ และภาคเอกชน มีลักษณะแบ่งงานกันทำ และจงใจให้เกิดความเสียหายในการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ จึงถือเป็นการละเมิดต่อหน้าที่ และจงใจทำให้รัฐเกิดความเสียหาย ไม่ทำตามมติ ครม.ที่ถือเป็นนโยบายการบริหารงาน โดยมีการขายข้าวต่อกว่าราคาตลาด และมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระเงินจากเดิมที่กำหนดให้เปิด LC เพียงอย่างเดียว โดยเพิ่มให้ชำระล่วงหน้าโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารและจ่ายแคชเชียร์เช็คเป็นสกุลเงินบาท ซึ่งไม่สอดคล้องกับรูปแบบการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการส่งมอบข้าว ณ หน้าคลังสินค้า อีกทั้งไม่พบมีการส่งออกข้าวไปประเทศที่สั่งซื้อ กลับมีการนำมาเวียนขายภายในประเทศ ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม ขณะเดียวกันก็มีการแก้ไขสัญญาการซื้อขาย พบมีพิรุธ โดยไปตกลงล่วงหน้าก่อนที่จะมีมติคณะรัฐมนตรีออกมา

ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และมีการมอบหมายอีกทอดให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ออกคำสั่งกระทรวงพาณิชย์ เรียกค่าเสียหายจึงชอบด้วยกฎหมาย เพราะในฐานะที่เป็นผู้เสียหาย แต่ในกรณีนี้กระทรวงพาณิชย์ ไม่ต้องการให้ชดใช้เป็นรูปแบบข้าว แต่เรียกค่าเสียหายในรูปแบบเงิน ซึ่งน้อยกว่ามูลค่าข้าวที่เสียหายไป

อย่างไรก็ตามในส่วนของนายอัฐฐิติพงศ์ หรืออัครพงศ์ ในขณะที่เกิดการซื้อขายในสัญญาที่ 1 และ 2 เป็นเลขานุการกรมการค้าต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นล่าม ไม่มีส่วนในการเจรจาซื้อขายหรือสั่งการ แต่ในสัญญาฉบับที่ 3 และ 4 นั้น ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารการค้าข้าว กระทรวงพาณิชย์ จึงมีฐานะเป็นอนุกรรมการระบายข้าวโดยตำแหน่ง มีส่วนร่วมเจรจาและบันทึกการซื้อขาย ต่อมามีส่วนในการแก้ไขสัญญาซื้อขายข้าวในฉบับที่ 2 จึงให้ชดใช้ความเสียหายร้อยละ 10 ในสัญญาฉบับที่ 1 และ 2 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ส่วนสัญญาฉบับที่ 3 และ 4 ให้ชดใช้ร้อยละ 20 ของความเสียหายที่เกิดจากการละเมิด

โดยศาลได้มีคำพิพากษาให้ นายมนัส สร้อยพลอย ชดใช้ 4,011 ล้านบาท,นายทิฆัมพร นาทวรทัต ชดใช้ 4,011 ล้านบาท, นายภูมิ สาระผล ชดใช้ 2,242 ล้านบาทนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ชดใช้ 1,768 ล้านบาท,นายอัฐฐิติพงศ์ หรือ อัครพงศ์ ให้ชดใช้ 2,694 ล้านบาท

Next Post

Redsun Properties Revenue Increases 32.9% to RMB20.2 Billion, Net Profit Up 13.4% to RMB1,855 Million

จันทร์ มี.ค. 29 , 2021
HONG KONG, Mar 29, 2021 – (ACN Newswire via SEAPRWire.com) – Redsun Properties Group Limited (“Redsun Properties”, or the “Group”, stock code: 1996), a leading comprehensive property developer in Mainland China, announced its annual results for the year ended 31 D […]