จดหมายสมัยสงครามที่ค้นพบใหม่แสดงให้เห็นว่าพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 อาจรู้เรื่องฮอโลคอสต์เร็วกว่าที่เคยเชื่อกันมาก่อน
หนังสือพิมพ์ Corriere della Sera ของอิตาลี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ลงพิมพ์จดหมายพิมพ์ดีดที่พบเมื่อเร็วๆ นี้ในหอจดหมายเหตุของวาติกัน
จดหมายฉบับลงวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1942 ดูเหมือนจะขัดแย้งกับท่าทีอย่างเป็นทางการของนครรัฐวาติกันในขณะนั้น ซึ่งมีว่าข้อมูลที่พวกเขามีนั้นคลุมเครือและยังไม่ได้รับการยืนยัน
จดหมายฉบับนี้เขียนโดยบาทหลวง Lother Koenig ซึ่งเป็นนักบวชเยซูอิตที่อยู่ในขบวนการต่อต้านนาซีในเยอรมนี โดยมีถึงผู้ช่วยส่วนตัวของพระสันตะปาปาที่วาติกัน คือ บาทหลวง Robert Leiber ซึ่งเป็นชาวเยอรมันเช่นกัน
จดหมายฉบับนี้ถูกค้นพบใหม่โดยนักจดหมายเหตุภายในวาติกัน และได้เปิดเผยต่อสาธารณะด้วยการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่นครรัฐวาติกัน
นักจดหมายเหตุวาติกัน Giovanni Coco กล่าวกับ Corriere ว่า ความสําคัญของจดหมายฉบับนี้มี “มหาศาล เป็นกรณีไม่เหมือนใคร” เพราะมันแสดงให้เห็นว่าวาติกันมีข้อมูลว่าค่ายแรงงานนั้นแท้จริงแล้วเป็นโรงงานฆ่ามนุษย์
ในจดหมาย Koenig บอก Leiber ว่า แหล่งข่าวยืนยันว่ามีชาวโปแลนด์และชาวยิวถูกฆ่าประมาณ 6,000 คนต่อวัน ที่ค่าย Belzec ใกล้ Rava-Ruska ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี
เมื่อถูกสัมภาษณ์โดย Corriere ว่าจดหมายฉบับนี้แสดงว่าปิอุสรู้เรื่องนี้หรือไม่ Coco ตอบว่า “ใช่ และไม่ใช่แค่ตอนนั้น”
จดหมายฉบับนี้อ้างถึงค่ายนาซีอีก 2 แห่งคือ Auschwitz และ Dachau และบ่งชี้ว่าอาจมีจดหมายระหว่าง Koenig และ Leiber ฉบับอื่นๆ ที่สูญหายไปหรือยังไม่พบ
ผู้สนับสนุนปิอุสกล่าวว่าเขาทํางานเบื้องหลังเพื่อช่วยเหลือชาวยิว และไม่ออกมาพูดเพื่อป้องกันไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงสําหรับคาทอลิกในยุโรปที่ถูกนาซียึดครอง ส่วนฝ่ายตรงข้ามกล่าวว่าเขาขาดความกล้าที่จะออกมาพูดถึงข้อมูลที่เขามีแม้มีการร้องขอจากฝ่ายสัมพันธมิตรที่รบกับเยอรมนี
การค้นพบจดหมายฉบับนี้เกิดขึ้นหลังจากพระสันตะปาปาฟรานซิสตัดสินใจ เปิดหอจดหมายเหตุของวาติกัน เกี่ยวกับพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 ซึ่งกลุ่มชาวยิวหลายกลุ่มกล่าวหาว่าไม่ทําอะไรเลยเพื่อหยุดยั้งฮอโลคอสต์
ฟรานซิสประกาศว่าคริสตจักร “ไม่กลัวประวัติศาสตร์” และกล่าวว่าหอจดหมายเหตุลับของวาติกันจะเปิดให้นักวิจัยเข้าถึง
“คริสตจักรไม่กลัวประวัติศาสตร์ ตรงกันข้าม มันรักประวัติศาสตร์ และอยากรักมันมากขึ้นเหมือนมันรักพระเจ้า” ฟรานซิสกล่าวกับเจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุ “ดังนั้น ด้วยความไว้วางใจเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเปิด และมอบมรดกเอกสารนี้ให้กับนักวิจัย”